รายละเอียดของแผ่นดินไหว ของ แผ่นดินไหวในชูเอ็ตสึ จังหวัดนีงาตะ พ.ศ. 2547

การไหวครั้งแรกสร้างแรงสั่นสะเทือนในพื้นที่ชูเอ็ตสึในจังหวัดนีงาตะ อ่านค่าความรุนแรงของแผ่นดินไหวในมาตราชินโดะที่เมืองคาวางูจิ จังหวัดนีงาตะ[2] ได้ที่ระดับ 7 และอ่านขนาดของแผ่นดินไหวได้ที่แมกนิจูด 6.6[1] (เพื่อการเปรียบเทียบ แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ฮันชิงที่ทำลายพื้นที่หลายส่วนในโคเบะ วัดค่าความรุนแรงตามาตราชินโดะได้ระดับ 7 และวัดขนาดได้ที่แมกนิจูด 7.3[4]) แผ่นดินไหวเกิดขึ้นที่ความลึก 15.8 กิโลเมตร JMA ได้ให้พิกัดของแผ่นดินไหวที่ 37°18′N 138°48′E / 37.3°N 138.8°E / 37.3; 138.8พิกัดภูมิศาสตร์: 37°18′N 138°48′E / 37.3°N 138.8°E / 37.3; 138.8

การไหวครั้งที่สองเกิดขึ้นเมื่อเวลา 18:11[5] (16 นาทีหลังจากครั้งแรก) ครั้งนี้เกิดขึ้นที่ความลึกน้อยกว่าครั้งแรกมาก วัดความรุนแรงได้ชินโดะ 6+ และวัดขนาดได้ที่แมกนิจูก 5.9 ครั้งที่สามเกิดขึ้นเมื่อเวลา 18:34 ระดับความรุนแรงวัดได้ที่ชินโดะ 6- เวลา 19:45[6] เกิดแผ่นดินไหวระดับความรุนแรงชินโดะ 6- ขึ้นอีกครั้ง และยังมีแผ่นดินไหวย่อยที่รุนแรงน้อยกว่าเกิดขึ้นเป็นระยะในภูมิภาค ใน 66 ชั่วโมงแรก มีแผ่นดินไหวระดับความรุนแรงชินโดะ 5- หรือสูงกว่าเกิดขึ้น 15 ครั้งในภูมิภาคชูเอ็ตสึ[7]

ตามรายงานของสื่อ Geographical Survey Institute (GSI) ในสังกัดรัฐบาลญี่ปุ่น ได้ประเมินขึ้นต้นว่า รอยเลื่อนที่ยาว 22 กิโลเมตร และกว้าง 17 กิโลเมตร ได้เคลื่อนที่ไป 1.4 เมตร

แผ่นดินไหวครั้งนี้เป็นครั้งที่ร้ายแรงที่สุดในญี่ปุ่นนับตั้งแต่แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ฮันชิงเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2538

แผ่นดินไหวตาม

จุดศูนย์กลางของแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ลึก 13 กิโลเมตร แผ่นดินไหวตาม (อาฟเตอร์ช็อก) ที่เกิดขึ้นตามมานั้นก็ลึกประมาณ 20 กิโลเมตรเช่นกัน หลังเกิดแผ่นดินไหวหลักก็ยังมีแผ่นดินไหวตามขนาดใหญ่เกิดขึ้นตามมา ในพื้นที่จังหวัดนีงาตะเกิดแผ่นดินไหวตามรุนแรงระดับ 6 ถึงสามครั้ง (6- หนึ่งครั้ง 6+ สองครั้ง) แผ่นดินไหวตามเหล่านี้เกิดขึ้น 2 ชั่วโมงหลังเกิดแผ่นดินไหวหลัก มีการบันทึกแผ่นดินไหวที่มนุษย์สามารถรู้สึกได้ถึง 600 ครั้งภายในวันที่ 31 ตุลาคม และ 825 ครั้งภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน หลังจากวันที่ 25 ตุลาคม ทีมวิจัยร่วมของ กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์โลก ได้ติดตั้งเครื่องวัดแผ่นดินไหวชั่วคราวจำนวน 149 เครื่อง เครื่องวัดแผ่นดินไหวแบบ GPS 17 เครื่อง และอุปกรณ์สังเกตการณ์แบบแม่เหล็กไฟฟ้า 9 เครื่อง ซึ่งสามารถใช้ในการบันทึกกิจกรรมการเกิดแผ่นดินไหวตาม และวิเคราะห์โครงสร้างใต้ผิวดิน [8] อุปกรณ์เหล่านี้ถูกพัฒนาขึ้นหลังจากเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ฮันชิง จะเห็นได้ว่าสามารถบันทึกกิจกรรมแผ่นดินไหวตามได้มากกว่าแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ฮันชิงเป็นสองเท่า [9] ในปี ค.ศ. 2011 แม้ผ่านไป 7 ปีนับแต่แผ่นดินไหวใหญ่ก็ยังมีอาฟเตอร์ช็อกขนาดเล็กถึงกลางเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว [10]

แหล่งที่มา

WikiPedia: แผ่นดินไหวในชูเอ็ตสึ จังหวัดนีงาตะ พ.ศ. 2547 http://isc-mirror.iris.washington.edu/cgi-bin/Form... http://isc-mirror.iris.washington.edu/cgi-bin/web-... http://uli.nli.org.il/F/?func=find-b&local_base=NL... http://www.ffpri.affrc.go.jp/labs/etj/wstr/pdf/200... http://www.data.jma.go.jp/svd/eqdb/data/shindo/Eve... http://www.data.jma.go.jp/svd/eqdb/data/shindo/Eve... http://www.data.jma.go.jp/svd/eqdb/data/shindo/Eve... http://www.data.jma.go.jp/svd/eqdb/data/shindo/Eve... http://www.data.jma.go.jp/svd/eqev/data/gaikyo/kei... http://www.jma.go.jp/jma/press/0410/24a/name041024...